ไทยทรงดำดอนคลัง

ไทยทรงดำดอนคลัง
สาระสำคัญ
ชาวไทยทรงดำรวมกลุ่มกันตั้งรกรากในประเทศไทยเป็นเวลาช้านาน ถ้าจะนับตั้งแต่การอพยพในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งเป็นการอพยพครั้งใหญ่ที่ชาวไทยทรงดำอพยพมากันเป็นจำนวนมากแล้ว ก็เป็นเวลาประมาณ ๒๐๐ ปี ปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ว่าอพยพเข้ามาด้วยผลของการทำสงครามเป็นส่วนใหญ่ โดยอพยพลงมาทางเวียดนามเหนือ ลาว และเข้ามาสูประเทศไทยในปี พ.ศ.2321 โดยอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในประเทศไทยหลายจังหวัด เช่น เพชรบุรี กาญจนบุรี นครปฐม สุพรรณบุรี พิจิตร พิษณุโลก ราชบุรี เป็นต้น จังหวัดราชบุรี ชาวไทยทรงดำอาศัยอยู่ในอำเภอจอมบึง ปากท่อ บางแพ และอำเภอดำเนินสะดวก สำหรับอำเภอดำเนินสะดวกชาวไทยทรงดำเข้ามาพักอาศัยอยู่เมื่อประมาณปี พ.ศ.2400 ที่บ้านดอนข่อย บ้านตาลเรียง บ้านบัวงาม บ้านโคกตับเป็ด บ้านโคกกลาง และบ้านดอนคลัง หมู่ที่ 1 - 4 ตำบลดอนคลัง ได้เข้ามาจับจองที่ดินเพื่อประกอบอาชีพทำนาข้าวเป็นอาชีพหลัก สืบทอดลูกหลานและยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมของไทยทรงดำมาจนถึงปัจจุบัน

ไทยทรงดำดอนคลัง
สถานที่ตั้ง บ้านดอนคลัง
เลขที่ -
หมู่ที่/หมู่บ้าน 1 - 4
ซอย -
ถนน -
ตำบล ดอนคลัง
อำเภอ ดำเนินสะดวก
จังหวัด ราชบุรี

ค่าพิกัดภูมิศาสตร์zone 47 พิกัด-x 1503692 พิกัด-y 0606926

การเข้าถึงข้อมูล
ชื่อบุคคลอ้างอิง นายยุกาญจน์ เจียมจิระพร อีเมล์ -
ชื่อหน่วยงานอ้างอิง - อีเมล์ -
เลขที่
หมู่ที่/หมู่บ้าน 2
ซอย -
ถนน -
ตำบล ดอนคลัง
อำเภอ ดำเนินสะดวก
จังหวัด ราชบุรี
รหัสไปรษณีย์ 70130

ที่อยู่ของเว็บไซต์ -
เว็บไซต์ภาพ 360 องศา

http://www.thaitambon.com/Tambon/ttambon.asp?ID=700406

วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล

วางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูล

สร้างความเข้าใจกับผู้นำชุมชน

สร้างความเข้าใจกับผู้นำชุมชน

ประชุมกลุ่มผู้นำเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

ประชุมกลุ่มผู้นำเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล

ศึกษาข้อมูลจากหมอเสนเรือน

ศึกษาข้อมูลจากหมอเสนเรือน

บันทึกข้อมูล

บันทึกข้อมูล

ขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทรงดำ

พิธีเสนเรือนหรือเสนเฮือน
พิธีเสนเรือน คือพิธีเซ่นไหว้ผีเรือน ผีเรือนก็คือผีบรรพบุรุษที่ได้เชิญมาไว้บนเรือน เจ้าของบ้านจัดให้อยู่ที่มุมห้องหนึ่ง โดยเฉพาะ เรียกว่า ห้อง”กะล้อห่อง”หรือห้องผีเรือน
การเสนเรือน แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือแบบผู้น้อยและแบบผู้ต้าวหรือผู้ท้าว(ผู้ท้าว ผู้น้อย เป็นระดับชั้นของไทยทรงดำ)
การเสนแบบผู้น้อย พิธีการจะเซ่นไหว้ด้วยเนื้อหมูและเซ่นด้วยข้าวก่อนเหล้า
การเสนแบบผู้ต้าว พิธีการจะเซ่นไหว้ด้วยเนื้อควายและเซ่นด้วยเหล้าก่อนข้าว

พิธีเสนเรือน

พิธีเสนเรือน

การแต่งกาย

การแต่งกาย
การแต่งกายชายไทยทรงดำ
กางเกง กางเกงชาย มี 2 แบบ ดังนี้
1. ส้วงเต้น หรือส้วงก้อม ลักษณะเป็นกางเกงขาสั้นปลายขาแคบ เรียวยาวแค่ใต้เข่า ขอบกางเกงส่วนเอวกว้างแบบกางเกงจีน ตัดเย็บมีตะเข็บ ไทยทรงดำสวมใส่สำหรับทำงานทั่วไป
2. ส้วงฮี ลักษณะเป็นกางเกงขายาว เช่นเดียวกับกางเกงขาสั้นแต่มีขายาวถึงตาตุ่ม ชุดนี้สำหรับใช้ในพิธีการสำคัญและเทศกาลต่างๆ เช่น การเล่นคอนฟ้อนแคน เป็นต้น กางเกงทั้ง 2 แบบ เป็นผ้าฝ้ายทอ ตัดเย็บด้วยมือ ย้อมครามหรือฮ่อมให้เป็นสีดำ
เสื้อ เสื้อแบ่งเป็น 2 แบบ ดังนี้
1. เสื้อซอน ลักษณะเป็นเสื้อมีแขนยาวทรงกระบอกแคบผ่าหน้าตลอดติดกระดุมเงินยอดแหลม มีลวดลาย กระดุมติดเรียงกันประมาณ 10-20 เม็ด ตัวเสื้อตัดเย็บเข้ารูป คอตั้งไม่มีปกแบบคอจีน จ้ำเอว ใช้ผ้าเสริมตะเข็บทั้งสองข้างใต้เอวให้ชายเสื้อถ่างออกตรงรอยผ่า สาบเสื้อด้านล่างแหวกออกให้ห่างกัน เสื้อซอนสวมใส่ในงานพิธีมากกว่าการทำงานอยู่กับบ้าน
2. เสื้อฮี คือ เสื้อชุดใหญ่หรือชุดพิเศษใช้ในงานพิธีสำคัญโดยเฉพาะ เช่น พิธีเสนเรือน แต่งงาน งานศพ ลักษณะของเสื้อชุดนี้ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายสีดำประดับตกแต่งด้วยผ้าไหมชิ้นเล็กๆสีแดง สีส้ม สีขาว สีเขียว ตรงสาบชายเสื้อ ปลายแขน ใต้รักแร่ และเหนือรอยผ่าทั้งสองด้าน ตัวเสื้อคลุมยาวถึงเข่า ผ่าหน้าป้ายทับไปทางซ้ายมีกระดุมติดที่หน้าอกและเอว คอตั้ง กุ๊นด้วยผ้าสี ไม่มีปก แขนเสื้อยาวแคบ
ด้านในของเสื้อฮีชายเมื่อกลับด้านในออกมาจะเป็นด้านที่มีสีสัน เพราะมีการตัดเย็บตกแต่งด้วยผ้าสีต่างๆที่บริเวณสาบเสื้อ ชายเสื้อและปลายแขนเสื้อ ด้านในของเสื้อนี้จะนำออกมาใช้ก็ต่อเมื่อตนเองตาย โดยญาติสวมใส่ให้เป็นการแต่งตัวศพเท่านั้น
เสื้อฮีชายใช้สวมทับเสื้ออื่นที่สวมใส่อยู่ก่อนแล้ว ผู้ชายไทยทรงดำ จะต้องมีเสื้อฮีประจำตัว

การแต่งกายของหญิงไทยทรงดำ
ผ้าซิ่น
ผ้าซิ่นเป็นผ้าถุงสีดำ พื้นมีลายเป็นเส้นสีขาวขนาดเล็กยาวตามแนวตั้ง ทอด้วยเส้นด้ายสีดำสลับด้ายสีขาวหรือฟ้าอ่อน ผ้าซิ่นประกอบด้วยผ้า 3 ชิ้นต่อกัน ดังนี้
ชิ้นที่ 1 ท่อนบนสุด เรียกว่า หัวซิ่น มีสีดำล้วน ไม่มีลวดลาย ยาวประมาณ 30 ซม.
ชิ้นที่ 2 เย็บติดกับชิ้นที่ 1 เรียกว่า ตัวซิ่น มีพื้นสีดำลายสีขาว เป็นทางลงมา กว้างประมาณ0.10 - 0.50 ซม. ลายเส้นสีขาวห่างกันประมาณ 2.50 - 5.00 ซม. สลับกันระหว่างเส้นใหญ่กับเส้นเล็ก
ความหมายของเส้นในผ้าซิ่น
ลายเส้นใหญ่คู่กัน หมายถึงชาวไทยกับชาวลาวเคยเป็นพี่น้องกัน ลายเส้นเล็กและเส้นใหญ่เดี่ยว หมายถึงการแยกย้ายจากกัน
ผ้าซิ่นมีลักษณะเป็นลายทางยาวๆ เรียกว่า”ลายแตง หรือลายแตงโม”
ชิ้นที่ 3 เรียกว่า ตีนซิ่น มีขนาดกว้าง 2.50 ซม.ผ้าแถบชิ้นนี้มีลวดลายละเอียดเป็นทางสีขาวยาวตลอดเส้น 2-3ทาง ถ้าสามีตายจะต้องเลาะตีนซิ่นชิ้นที่ 3 นี้ออกเพื่อเป็นการไว้ทุกข์ ต่อมาภายหลัง เมื่อออกทุกข์ จึงจะนำตีนซิ่น(ชิ้นที่ 3) มาเย็บติดกันอีกครั้งหนึ่ง
เสื้อ
1. เสื้อก้อม ลักษณะเป็นเสื้อแขนยาวทรงกระบอก ตัวเสื้อเย็บเข้ารูป คอตั้ง ผ่าตลอด ติดกะดุมเงินเรียง 10 เม็ด เสื้อเป็นผ้าฝ้ายย้อมสีดำ ใช้ในโอกาสต่างๆ เป็นเสื้อประจำตัวของหญิง
2. เสื้อฮี ลักษณะคล้ายเสื้อฮีของชาย เป็นเสื้อคลุมยาวถึงเข่าแขนยาวกว้าง คอแหลม ไม่ผ่าไหล่ การสวมใส่เสื้อนี้ต้องสวมทางศีรษะ ที่สาบเสื้อเป็นแพรหรือไหมสีดำกว้าง2.50ซม.ตัดเย็บด้วยผ้าฝ้ายสีดำทั้งตัว เหนือขอบปลายแขนขึ้นมาประมาณ 5 ซม.มีลวดลายรอบแขนทำด้วยชิ้นผ้าไหมสีต่างๆที่ด้านหน้าของตัวเสื้อจากไหล่ลงมาถึงหน้าอกประดับลายด้วยชิ้นผ้าไหมสีแดง เหลือง เขียว ขาว เป็นแถบลงมารูปสามเหลี่ยมฐานกว้าง 3.75 ซม. สูง 20 ซม.ยอดแหลมจรดตะเข็บบ่า ด้านในตัวเสื้อประดับลวดลายด้วยชิ้นผ้าสีต่างๆตรงบริเวณสาบหน้า ปลายแขน ตะเข็บและชายล่างของเสื้อ เสื้อด้านในนี้จะใช้ต่อเมื่อตัวเองตายเท่านั้น(เช่นเดียวกับชาย) เสื้อหญิงใช้สวมใส่ในงานประเพณีต่างๆ เช่นงานแต่งงาน งานศพ พิธีเสนเรือน และการไปเที่ยวเล่นคอนฟ้อนแคน โยนลูกช่วง เป็นต้น

ทรงผมสาวไทยทรงดำ

การไว้ทรงผม หญิงไทยทรงดำมีศิลปะในการแต่งผมแบบต่างๆกันไปตามวัย อายุ เรียงตามลำดับ ตั้งแต่วัยเด็กจนเป็นผู้ใหญ่ มี 8 แบบ ดังนี้
1. เอื้อมไหล่ หญิงวัยเพิ่งจะเป็นสาว ผมยังไม่ยาวนักไว้ผมประบ่า
2. สับปิ้น สำหรับหญิงอายุ 14-15 ปี ไว้ผมยาวแล้วพับปลายผมสับหวีไว้ท้ายทอย
3. จุกผม สำหรับหญิงอายุ 14-15 ปี ผมเป็นกระบังไว้ข้างหน้า ข้างหลังเอาไว้เปีย
4. ขอดกะตอก สำหรับหญิง อายุ 16-17 ปี ไว้ผมยาว ผูกผมแบบเชือกเงื่อนตาย เอาชายผมไว้ข้างขวา
5. ยอดซอย สำหรับหญิง อายุ 16-17 ปี ไว้ผมยาว ผูกผมแบบเชือกเงื่อนตายแต่เอาชายผมไว้ทางซ้ายทำผมเป็นโบว์ 2 ข้าง
6. ปั้นเกล้าซอย สำหรับหญิงอายุ 19-20 ปี ไว้ผมยาว ผูกผมเหมือนผูกเนคไทหูกระต่าย แต่มีหางยาวออกมาทางขวา
7. ปั้นเกล้า หรือปั้นเกล้าถ้วน สำหรับสาวอายุ 20 ปีขึ้นไป ผมต้องยาวมากม้วนเป็นกลุ่มไว้ข้างหน้าแบบปั้นเกล้าซอย แต่ไม่มีหางยาวออกมา
8. ปั้นเกล้าตก แบบผมสำหรับไว้ทุกข์ของหญิงหม้ายที่สามีตาย ศพยังอยู่ที่บ้านจะปล่อยทรงผมไม่ปั้นเกล้า ไม่แต่งเครื่องประดับ เพื่อเป็นการไว้ทุกข์ จนถึงเผาศพและพิธีเอาผีขึ้นเรือนแล้ว
ปั้นเกล้าตก คือการทำให้กลุ่มผมห้อยอยู่ที่ท้ายทอย

วัฒนธรรมอันหลากหลาย

พิธีแปงขวัญ
ขวัญ คือสิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่าขวัญมีอยู่ประจำชีวิตของคนตั้งแต่เกิดมาซึ่งเชื่อกันว่าถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นศิริมงคล เป็นสุขสบาย จิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น
การแปงขวัญ หรือ การเรียกขวัญ
การแปงขวัญ คือ การเรียกขวัญของตนเองให้กลับคืนมาโดยการจัดทำพิธีอ้อนวอนแถนหรือผู้เป็นใหญ่ในเมืองฟ้าให้ปล่อยขวัญกลับคืนมา มีการไถ่ขวัญด้วยสิ่งของการแลกเปลี่ยน การขับกล่อมเทวดาด้วยเครื่องดนตรีและการไต่ถามเทวดาด้วยการนับเมล็ดข้าวสารหรือทอดไม้คว่ำหงาย เป็นต้น
ชาวไทยทรงดำมีความเชื่อว่า ผีขวัญเป็นผีที่อยู่ในร่างกายของคนแต่ละคน เป็นมิ่งขวัญของเรือนร่างประดุจดังพี่เลี้ยงของร่างกาย ตัวอย่างผีขวัญ เช่น เด็กเล็กๆ ปวดหัว ตัวร้อนนอนเป็นไข้ ฝันละเมอ ไม่ได้สติขณะที่ป่วยหรือเกิดอาการตกใจ จนทำให้เจ็บป่วยถึงกับล้มหมอนนอนเสื่อไปเช่นนี้ ก็หมายความว่า ผีขวัญล่องลอยไปในที่ต่างๆนอนไม่หลับฝันไม่ดี แสดงว่าผีขวัญไม่อยู่กับตัวเที่ยวเตร่ไปโดยไม่รู้ที่อยู่ ในกรณีเช่นนี้ ผู้นั้นจะต้องเรียกขวัญ โดยทำพิธีแปงขวัญ เพื่อให้ขวัญกลับมายู่กับตัวเหมือนเดิม

พิธีข่มขวง

พิธีข่มขวง หมายถึง พิธีการข่มขวัญภูตผีปีศาจมิให้กล้ำกรายเบียดเบียนผู้คนหรือเจ้าของบ้านให้มีความสุขความเจริญ พิธีนี้เป็นการบำรุงขวัญและจิตใจให้คลายความกลัว คล้ายพิธีตัดไม้ข่มนาม
ฮีตหรือผู้รู้ฮีต คือผู้รู้พิธีข่มขวง ฮีตแต่งกายด้วยเสื้อฮี(ชาย)มือขวาถือดาบ
ฮีตเดินนำหน้าเจ้าของบ้าน ขบวนหาบและบรรดาญาติพี่น้องเดินวนรอบบ้าน ลักษณะทักษิณาวรรต จำนวน 3 รอบ รอบแรกทุกคนต้องสงบเงียบไม่พูดคุยกัน รอบที่ 2และ 3 ผู้ร่วมขบวนพิธีจึงจะพูดคุยสนุกสนานได้
ขณะเดินรอบบ้าน ฮีตจะร่ายมนต์ขับไล่ภูตผีปีศาจให้หลบหลีกไปด้วยเสียงที่ดัง
เมื่อครบ 3 รอบ ฮีตนำขบวนทั้งหมดหยุดที่บันไดขึ้นบ้าน ใช้คมมีดเคาะที่บันไดขั้นที่สอง 2 ครั้งแล้วปักมีดไว้พร้อมทั้งร่ายมนต์ไล่ภูตผีปีศาจนางไม้ทั้งหลายที่มีอยู่ในบ้านให้หนีไป ฮีตต้องทำพิธีเช่นนี้ทุกขั้นบันได เว้นบันไดขั้นแรกและขั้นบนสุด เพราะถือว่าบันไดขั้นแรกเป็นหัวแม่ บันได้บนสุดเป็นหัวพ่อก่อนที่เจ้าของบ้านและญาติๆจะขี้นบ้านได้นั้น หญิง 2 คน ที่อยู่บนบ้านทำหน้าที่ดึงมือพ่อบ้าน แม่บ้านพร้อมกับถามพ่อบ้านว่า”ไปค้าขายได้อะไรมาบ้าง”พ่อบ้านตอบว่า”ได้เงินทองข้าวของมากมายจะขออยู่อาศัยในบ้านใหม่นี้”จากนั้นเจ้าของบ้านและทุกคนขี้นบนบ้านได้

พิธีป้าดตง

ป้าดตง คือพิธีการเซ่นไหว้ผีเรือนของตนกินทุก 10 วันที่ห้องกะล้อห่อง วันที่จัดป้าดตงเรียกว่า “มื้อเวนตง” เป็นการเซ่นไหว้อย่างธรรมดา ต่างกับพิธีเสนและพิธีเซ่นป้าดตงข้าวใหม่
การเซ่นป้าดตงในรอบสิบวันหรือมื้อเวนตง เนื่องจากไทยทรงดำนับวันตามแซ่ตามซิงของผีเรือน เช่นว่า ผีซิงกวาง ถือมื้อเมิ้งเป็นวันครบสิบ ผีซิงกวางทุกครัวเรือนก็ต้องจัดสำรับอาหารหวาน คาว ข้าวน้ำเป็นพิเศษในวันมื้อเมิ้ง ทำเซ่นป้าดตงเป็นมื้อเวนตง ทำการเชิญผีเรือน เชิญวิญญาณผีเรือนมารับเซ่นในวันครบสิบมื้อดังนี้ ถ้าลืมไปหรือว่าวันมื้อเมิ้งผ่านไปแล้ว จะทำการเซ่นป้าดตงในวันรุ่งขึ้นก็ไม่ได้เพราะเลยวันเวลากำหนดเสียแล้ว จะเซ่นไหว้ก็ไม่มีผลอะไรกับวิญญาณจะหลงลืมวันกำหนดโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามก็จะต้องรอไปอีกในรอบสิบวันหลังถ้าลืมบ่อยนักเกินไปจัดว่าละทิ้งละเลยจะให้โทษแก่เจ้าบ้าน หรือว่าผีเรือนซิงลอ นับวันครบสิบถือมื้อฮวง ก็ต้องเอาวันมื้อฮวงเป็นเกณฑ์กำหนดที่จะต้องจัดสำรับเซ่นไหว้ป้าดตงในวันนั้น